Digital Manufacturing & IoT Program -Hybrid Course : กลุ่ม 5/2022.


โครงการความร่วมมือของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรดิจิทัล ด้าน Digital Manufacturing & IoT Program
กลุ่มที่ 5 – Online และ On-Site Workshop
เรียนออนไลน์ วันที่ 7 – 9 มีนาคม 2565 (LIVE)
และภาคปฏิบัติ 2 วัน รอบที่ 1: วันที่ 10 – 11 มีนาคม 2565
รอบที่ 2: วันที่ 14 – 15 มีนาคม 2565
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรเป็นการเรียนรูปแบบ Online แบบสะสม 3 รายวิชา E-Learning และ On-site work shop จำนวน 42 ชั่วโมง ในแต่ละกลุ่มผู้เข้าอบรม
แบ่งเป็น ภาคทฤษฏี ผ่าน Live Zoom / ภาคปฏิบัติ (On-site)
จำนวนชั่วโมง
42 ชั่วโมง
ทฤษฎี : ปฎิบัติ
50 : 50
รูปแบบการเรียน
เรียน Online
และ ภาคปฏิบัติ
สถานที่เรียน
สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น (TNI)
รายวิชาฝึกอบรม
หลักสูตร เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ (Smart Monozukuri)
เนื้อหาวิชา
เป็นหลักสูตรที่ประยุกต์หลักการและเทคนิคการผลิตแบบญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Kaizen) มาผสมผสานกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ทั้งด้านเทคโนโลยีดิจิตอลและระบบอัตโนมัติ มาพัฒนาสายการผลิตแบบ Small Start โดยเริ่มจากการวินิจฉัยกระบวนการผลิต ณ ปัจจุบัน, สรุปประเด็นปัญหา และจัดการเชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ของปัญหาในแต่ละส่วนในสายการผลิตให้เป็นแผนผัง (AS-IS) จากนั้นทำการวางแผนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลหรือเทคโนโลยีอัตโนมัติที่คาดหวังมาเป็นการแผนผังการปรับปรุงโดยทำการคาดการณ์ประโยช์นที่ได้รับ (To-Be) แล้วเลือกส่วนที่ปฏิบัติได้จริงจากเทคโนโลยีในปัจุบันมาเริ่มปฏิบัติให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
จุดมุ่งหมายรายวิชา
1) เข้าใจหลักการหรือวิธีการค้นหาปัญหาจากสายการผลิตและทำการเชื่อมโยงปัญหาได้
2) สามารถเลือกเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการแก้ปัญหาในสายการผลิตของตนเองได้
หลักสูตร การวางระบบ IoT ตามแนวทางของลีน (Lean IoT system)
เนื้อหาวิชา
เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อหัวหน้างาน ,วิศวกรในสายการผลิต หรือบุคคลที่ต้องการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบ Factory IoT โดยเนื้อหามุ่งเน้นการวางระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยช์นในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภาพของสายการผลิตด้วยหลักการของ TPM ในระบบ ผู้เรียนจะรู้ถึงเทคนิคการเก็บข้อมูลจากสัญญานพื้นฐานต่างๆ,การส่งข้อมูล, การเชื่อมต่อไปจนถึงการจัดเก็บข้อมูล (Database) และแสดงผล (Data visualization) เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรังให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
จุดมุ่งหมายรายวิชา
1) เพื่อรู้ถึงสถานการณ์ปัจจุบัน, ทิศทางในการพัฒนาและประโยช์นของระบบ IoT ในอนาคต
2) เพื่อให้เข้าใจถึงเทคนิคพื้นฐานในการเก็บข้อมูลที่สำคัญในสายการผลิตและให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประสิทธิผลและสร้างประโยชน์ได้อย่างชัดเจน
3) เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและการเพิ่มผลิตภาพให้สายการผลิต
หลักสูตร การจัดการและบริหารข้อมูลในระบบ IoT (Factory IoT Data Management)
เนื้อหาวิชา
เป็นหลักสูตรในการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับวิศวกรด้านเทคนิค, System integrator โดยเข้าถึงวิธีการต่อสัญญาณและเชื่อมโยงข้อมูลจาก Sensor, PLC, Middleware จนกระทั่งถึง Cloud computing โดยเรียนรู้อย่างเป็นระบบตั้งแต่การรับข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ (Data Collection), การเชื่อมต่อและการแปลงสัญญานทางไฟฟ้าเป็นข้อมูล (Data Communication) และการประมวลผลข้อมูลมาเป็นกราฟในการแสดงผลต่างๆ (Data Visualization) สำหรับการวิเคราะห์และพัฒนาสายผลิต (Data Analysis) ตามหลักการของระบบการผลิตแบบลีน
จุดมุ่งหมายรายวิชา
1) เพื่อรู้ถึงอุปกรณ์ที่สำคัญและการเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องของระบบ IoT
2) สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์และการติดตั้งตามจุดต่างๆ เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและจำเป็นในสายการผลิต
3) สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากสายการผลิตจนถึงการเก็บและแสดงผลในระบบ Cloud System
คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ว่างงานที่ต้องการ Upskill, Reskill & New Skill ด้าน IoT และ Manufacturing
นักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางาน
* ขอสงวนสิทธิ์ ในการเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นลำดับเเรกการสมัครจะสมบูรณ์เมื่อได้รับ อีเมลยืนยันจากสถาบันฯ